เที่ยวชัยภูมิกับเพื่อนๆ

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

มุมหนังสือหรือมุมอ่าน : สำคัญสำหรับเด็ก

มุมหนังสือหรือมุมอ่าน : สำคัญสำหรับเด็ก

                         มุมหนังสือหรือมุมอ่านมีความสำคัญมาก ทั้งที่เด็กอยู่บ้านหรืออยู่ที่โรงเรียน ผู้ใหญ่จะต้องจัดสภาพแวดล้อมที่เป็นมุมดังกล่าวให้แก่เด็ก เพื่อเป็นการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยในการปลูก
ฝังการรักการอ่านให้กับเด็กตั้งแต่เริ่มแรก ไม่ใช่หวังแต่เพียงโรงเรียนเท่านั้นที่จะต้องสร้างบรรยากาศ
เพื่อการอ่านให้แก่เด็ก สภาพทางบ้านและทางโรงเรียนจะต้องช่วยกัน และร่วมมือกันอย่างที่เรียกว่าเราจะต้องไปสู่เป้าหมายเดียวกันคือเด็กมีพฤติกรรมรักการอ่าน ครูปฐมวัยจะต้องเป็นผู้ที่เริ่มขับเคลื่อนโดยจัดเป็นมุมหนังสือในห้องเรียนและมีความมุ่งมั่นดังนี้
                          -จัดอยู่ในมุมใดมุมหนึ่งในห้อง กำหนดพื้นที่ไว้ด้วยเสื่อหรือพรม ห้ามเด็กทำกิจกรรมอื่นๆ ขณะอยู่ในมุมหนังสือ
                          -จัดหาหนังสือที่หลากหลาย  จัดเป็นแถวให้เห็นทุกปก  ไม่จัดเรียงซ้อนกัน หรือจัดสูง
เกินไปสำหรับเด็กจะหยิบได้
                          -จัดเปลี่ยนหนังสือตามหัวข้อที่ต้องการให้เด็กอ่าน  หรือตามความสนใจ สำหรับหนังสือ
เล่มโปรดของเด็กไม่จำเป็นต้องเอาลงจากชั้น อาจตั้งโชว์ไว้เป็นเวลานานก็ได้แล้วแต่ความสนใจของเด็ก
                         ดังนั้นการที่จะให้เด็กรักการอ่านหนังสือผู้ใหญ่จะต้องทำหลายอย่างไม่ใช่เพียงแต่เขียน


โครงการหรือพูดกันเท่านั้น มีกิจกรรมหลายอย่างที่เราจะต้องลงมือทำกันตั้งแต่ตอนนี้เป็นต้นไป

สาระสำคัญบางประการที่ควรรู้ในการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย

สาระสำคัญบางประการที่ควรรู้ในการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย

           สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย พอจะกล่าวได้เป็นประเด็นต่างๆ ดังนี้

          -เด็กเรียนรู้พฤติกรรมต่างๆ  จากพ่อแม่  ครู และผู้ที่อยู่ใกล้ชิดและเลียนแบบสิ่งที่ประทับใจ
          -การเอาใจใส่อบรมเลี้ยงดูเด็กควรดำเนินการตั้งแต่ในช่วง 8 ปีแรกของชีวิต  เพราะเป็นช่วงที่มีความสำคัญยิ่ง
          -เด็กจะเจริญเติบโตและเรียนรู้ได้ดีที่สุดเมื่อได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างดี  สม่ำเสมอ และต่อเนื่องจากพ่อ แม่  และผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิด
          -อาหารที่เหมาะสม   เพียงพอ  และการดูแลสุขภาพในเด็กปฐมวัยมีความจำเป็นอย่างยิ่งเช่นเดียวกัน
          -การสนับสนุนจากบุคคลรอบข้างเด็กอย่างถูกต้อง  และสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภ้ย  จะช่วยให้เด็กเรียนรู้  และมีพัฒนาการรอบด้านอย่างสมดุลทั้งด้านร่างกาย  อารมณ์ จิตใจ  สังคม  และสติปัญญา
          -เด็กชายหรือหญิง  มีความต้องการพื้นฐานเหมือนกัน ไม่ว่าด้านร่างกาย  อารมณ์ จิตใจ  และ
สติปัญญา

เรื่องดาวลูกไก่

                                                             
นิทาน เรื่อง "ดาวลูกไก่"

    ที่ชายป่าแห่งหนึ่ง ไม่ไกลจากเชิงเขา ตากับยายปลูกกระท่อมอาศัยอยู่กันตามลำพัง มีอาชีพเก็บผักและของป่าไปขายพอเลี้ยงชีพได้ ตากับยายเลี้ยงไก่ไว้ตัวหนึ่ง ต่อมาแม่ไก่ออกไข่และฟักออกมาเป็นลุกน้อยๆ น่ารักถึงเจ็ดตัว ทุกเช้าแม่ไก่จะร้องกุ๊กๆ เรียกลูกออกไปหากิน สอนให้คุ้ยเขี่ยอาหารและแมลงเล็กๆ ตามพื้นดิน บางวันยายก็จะโปรยข้าวสุกเหลือๆ จากก้นหม้อให้กินด้วย แม่ไก่กับลูกๆทั้งเจ็ดมีความสุขมาก และรู้สึกกตัญญูต่อตายายที่เลี้ยงดูพวกตนอย่างเมตตา ส่วนตากับยายนั้นก็เฝ้าดูแม่ไก่และลูกเจี๊ยบน้อยที่คลอเคลียตามแม่ไม่ยอมห่างด้วยความเอ็นดู ยายตั้งชื่อลูกเจี๊ยบตัวเล็กที่สุดว่า เจ้า "จิ๋ว" "ดูเจ้าจิ๋วสิตา ท่าทางมันขี้อ้อนแม่มันน่าดู" ยายพูด วันหนึ่งขณะที่แม่ไก่พาลูกๆ คุ้ยเขี่ยหากินอยู่ที่ลานดินหน้ากระท่อม แม่ไก่รู้สึกมีเงาดำทะมึนแผ่กว้างอยู่บนฟ้า แม่ไก่ตกใจรีบส่งเสียงเรียกลูกมาใกล้ๆ แต่ลูกๆ ก็ไม่ได้ยิน แม่ไก่แหงนหน้าขึ้นมองก็เห็นเหยี่ยวตัวใหญ่กำลังถลาร่อนลงมาจะโฉบเอาเจ้าจิ๋วลูกรัก "โอ..แย่แล้ว...กุ๊กๆๆ เจ้าจิ๋วลูกรักวิ่งหนีไปเร็ๆ ลูกๆ วิ่งเร็วๆ" แม่วิ่งผวาไปหาลูก แล้วกางปีกป้องกันลูกรัก เรียกลูกมาซุกใต้ปีกของตัวแล้วพาวิ่งไปหมอบที่กอไผ่อย่างรวดเร็ว ตากับยายได้ยินเสียงลูกไก่ร้องจึงรีบวิ่งออกมาช่วยไล่เหยี่ยวบินหนีไป แม่ไก่และลูกๆ จึงปลอดภัยและยิ่งรักตากับยายมากขึ้น เย็นวันหนึ่งมีพระธุดงค์มาปักกลดอยู่ริมเชิงเขา ตากับยายจึงเข้าไปนมัสการ และตั้งใจว่าจะทำอาหารไปถวายพรุ่งนี้ แต่เมื่อค้นดูเสบียงอาหาร ในครัวก็ไม่มีอะไรเหลืออยู่เลย ตากับยายสงสารพระมากเกรงว่าจะอดอาหาร เพราะในละแวกนี้มีบ้านของตนเพียงหลังเดียว จึงปรึกษากันว่าอาจจะต้องฆ่าแม่ไก่แล้วทำอาหารถวายพระ ทั้งตาและยายรู้สึกเศร้าใจมากด้วยความรักและสงสารแม่ไก่และลูกเจี๊ยบต้องกลายเป็นลูกไก่กำพร้า บังเอิญแม่ไก่แอบได้ยินตากับยายปรึกษากัน จึงตัดสินใจยอมสละชีวิตเพื่อตอบแทนบุญคุณของตากับยาย แม่ไก่เรียกลูกๆ มาเล่าเรื่องให้ฟัง และสั่งสอนให้รักกันอย่าทะเลาะกัน เจ้าจิ๋วลูกสุดท้องอย่ากวนใจพี่มากนัก อย่าขี้อ้อนงอแง "จำไว้นะลูกๆ ต้องรักกัน สามัคคีกัน อย่าทำให้ตากับยายร้อนใจ "ฮือๆ หนูจะอยู่กับแม่ หนูคิดถึงแม่ แม่อย่าทิ้งลูกๆไปนะจ๊ะ" ลูกไก่ร้องไห้รำพันอย่างน่าสงสาร ทุกตัวต่างกอดซุกอยู่กับอกแม่เป็นครั้งสุดท้าย เช้ามืดวันรุ่งขึ้น เมื่อตากับยายก่อไฟเตรียมประกอบอาหาร ทันใดนั้นตากับยายก็ต้องตกตะลึงจนร้องไม่ออก เมื่อเห็นลูกไก่ทั้งเจ็ดตัววิ่งตามกันกระโดดเข้ากองไฟด้วยความรักแม่ไก่ เทวดานางฟ้าผู้พิทักษ์ความดี ต่างก็ซาบซึ้งในความกตัญญูของแม่ไก่และลูกไก่ จึงรับเอาลูกไก่ทั้งเจ็ดไปอยู่บนฟากฟ้ามีแสงระยิบระยับเป็นประกาย ประกาศถึงความดีที่มีความรักความสามัคคีของพี่น้องทั้งเจ็ดนั่นเอง เด็กๆ มักได้ฟังนิทานเรื่อง " ดาวลูกไก่" อยู่เสมอเมื่อมองฟากฟ้ายามปราศจากเมฆฝน ก็จะเห็นดาวลูกไก่ดวงเล็กๆ ที่อยู่กันเป็นกลุ่มส่องแสงระยิบระยับน่าเอ็นดู และมีความเชื่อว่าลูกไก่สละชีวิตตามแม่ไก่ไป


ในความเป็นนิทานนั้นผู้เล่ามุ่งหวังจะสะท้อนให้เห็นถึงความรักของแม่ที่มีต่อลูก ความเมตตาของมนุษย์ที่มีต่อสัตว์เลี้ยง และความกตัญญูรู้คุณ อีกทั้งความตั้งใจทำหน้าที่ตามบทบาทของตนให้ดีที่สุด ดังนั้นขอให้น้องๆ เรียนรู้แบบอย่างที่ดีจากนิทานเรื่องนี้ เมื่อใดที่แหงนมองขึ้นไปบนท้องฟ้า แลเห็นกลุ่มดาวลูกไก่ ก็ขอให้นึกถึงความสามัคคี ความรัก ความกตัญญู ที่จะส่องประกายระยิบระยับอยู่ในใจของพวกเราตลอดไป...

ฝึกการคิดแก้ปัญหาตั้งแต่เด็กเล็กๆ

ฝึกการคิดแก้ปัญหาตั้งแต่เด็กเล็กๆ

                   การคิดแก้ปัญหาของมนุษย์เราแต่ละคนขึ้นอยู่กับประสบการณ์  ตลอดจนการอบรมเลี้ยงดู
ตั้งแต่เล็ก ซึ่งมีความจำเป็นจะต้องได้รับการฝึกจึงจะสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน  ครูปฐมวัยมี
ความสำคัญในการส่งเสริมสนับสนุน และฝึกการคิดแก้ปัญหาให้กับเด็กจนเด็กสามารถแก้ปัญหาได้
อย่างมีคุณภาพ   โดยการพัฒนาและการฝึกการคิดแก้ปัญหาตั้งแต่เริ่มแรกในวัยเด็กเล็ก  เพราะสมองมีความเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว   เซลประสาทที่มีอยู่อย่างมากมายกำลังแตกแขนง  มีการเชื่อมโยงต่อกันในสมอง   ยิ่งเด็กได้รับการฝึกคิดอย่างต่อเนื่อง  อยู่เป็นประจำเซลสมองหรือเซลประสาทยิ่งแตกแขนงขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วงปฐมวัย   ดังนั้นเด็กเล็กจึงต้องอาศัยการเรียนรู้  การอบรมเลี้ยงดู และประสบการณ์ในการแก้ปัญหาที่เหมาะสมกับเด็ก  เช่น   การฝึกการแก้ปัญหาที่เกิดสำหรับตนเอง  การฝึกแก้ปัญหาเมื่อเกิดกับผู้อื่น   เป็นต้น   ถ้าเด็กได้รับการพัฒนาและส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาที่เหมาะสม เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ก็จะเป็นคนที่มีคุณภาพในอนาคต

กิจกรรมกลางแจ้ง: การประเมินผล

กิจกรรมกลางแจ้ง: การประเมินผล

    ลักษณะของกิจกรรมกลางแจ้งเป็นกิจกรรมที่เด็กปฐมวัยได้มีโอกาสออกกำลังกายอย่างอิสระ ทำให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน อยู่นอกห้องเรียนซึ่งเป็นการพัฒนาความพร้อมทางด้านร่างกาย และส่งผลถึงการพัฒนาด้านอื่นๆ เช่น ด้านอารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาไปพร้อมกัน การจัดกิจกรรมดังกล่าวให้กับเด็กครูจะต้องเข้าใจถึงการประเมินผลของกิจกรรมซึ่งมีดังนี้คือ ครูจะต้องใช้วิธีการสังเกตพฤติกรรมและความพร้อมในเรื่องต่อไปนี้
    - การเปลี่ยนแปลงของร่างกายในด้านน้ำหนัก ส่วนสูง - ลักษณะการพัฒนาของกล้ามเนื้อใหญ่
    - ความมีระเบียบวินัย การเคารพกฎกติกา ข้อตกลง - การรักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น
    - การปรับตัว การเล่นร่วมกับผู้อื่น   - การรู้จักและสามารถเก็บอุปกรณ์การเล่นให้เป็นระเบียบ
   การจัดกิจกรรมแต่ละครั้งต้องมีการเตรียมการวางแผนทั้งวัสดุอุปกรณ์ กิจกรรม การประเมินผลและจำเป็นต้องมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ชัดเจนจึงจะเกิดประโยชน์

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

สมองสองซีกกับเด็กปฐมวัย

สมองสองซีกกับเด็กปฐมวัย

                                 คนเรามีความแตกต่างกัน ซึ่งแต่ละคนก็มีเอกลักษณ์ซึ่งไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับ
ความแตกต่างของสมองสองซึก  คือสมองซึกซ้ายกับสมองซีกขวา   สมองทั้งสองซีกมีการทำงานที่
แตกต่างกัน สมองซีกซ้ายทำหน้าที่ในการคิดวิเคาะห์  การคิดเป็นเหตุเป็นผล การเรียนคณิตศาสตร์
การเข้าใจจำนวน  ส่วนสมองซึกขวา  ทำหน้าที่ควบคุมอารมณ์  การจินตนาการ  ความคิดสร้างสรรค์
การมองสิ่งที่เป็นมิติ  การคิดเชิงนามธรรม การมีอารมณ์ขัน  เป็นต้น   สรุปได้ว่าสมองซึกซ้ายมีลักษณะ
เด่นในเรื่องภาษา  ความคิดวิเคราะห์  การคิดคำนวณ ส่วนสมองซีกขวา  มีความเด่นในเรื่องของความ
รู้สึก  อารมณ์  สุนทรียภาพต่างๆ   สมองของคนแต่ละคนมีการทำงานที่แตกต่างกัน   ดังนั้นครูจะต้อง
เข้าใจถึงความแตกต่างในขั้นพื้นฐานก่อนที่จะพัฒนาเด็กแต่ละคน  โดยเฉพาะพ่อแม่  ผู้ปกครองอย่า
เป็นผู้กดดันเด็กโดยไม่รู้ตัว  เช่น  เด็กมีการพัฒนาด้านสมองซึกขวา  มีความชอบในงานศิลปะ  ชอบ
วาดรูป ขณะเดียวกันพ่อแม่ต้องการให้เก่งในเรื่องคณิตศาสตร์ คำนวณหรือภาษาแล้ว เด็กไม่ได้รับ
การสนับสนุนในเรื่องงานศิลปะหรือการพัฒนาในด้านสมองซีกขวาตั้งแต่เล็กๆ   เด็กคนนั้นก็จะไม่
ประสบความสำเร็จเมื่อเขาโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ต่อไป

ความสำคัญกล้ามเนื้อใหญ่ต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย

ความสำคัญกล้ามเนื้อใหญ่ต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย

             ถ้าเราพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ให้เด็กเล็กมีความสามารถแล้ว จะทำให้เด็กมีพัฒนาการใน
ส่วนอื่นๆตามไปด้วย  เพราะความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ หมายถึง ความสามารถในการ
ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย ซึ่งเริ่มจากศีรษะไปสู่ปลายเท้าจากลำตัวไปยังแขน  มือ  และ
นิ้ว  จากสะโพกไปยังขา  จนถึงปลายเท้า  การเคลื่อนไหวของเด็กจะพัฒนาได้เพียงใดขึ้นอยู่กับ
ความพร้อมของร่างกาย    โอกาส   หรือประสบการณ์ในการเคลื่อนไหวตลอดจนสิ่งแวดล้อมที่
เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับเด็ก   การพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่จะเห็นได้จากการเคลื่อนไหวของเด็ก
ตั้งแต่เด็กแรกเกิดเราก็สามารถเห็นการเคลื่อนไหวของเขาแล้ว  ดังนั้นการเคลื่อนไหวในลักษณะ
ต่างๆ ของเด็กแสดงถึงความสามารถของกล้ามเนื้อใหญ่  ไม่ว่าจะเป็นการคลาน  การยืน  การเดิน  การวิ่ง  การกระโดด   เด็กต้องได้รับการฝึก  การพัฒนาตามลำดับ  ซึ่งเริ่มตั้งแต่การเคลื่อนไหว
พื้นฐาน   ทั้งการเคลื่อนไหวอยู่กับที่และการเคลื่อนไหวเคลื่อนที่  ไปจนการเคลิ่อนไหวที่สลับ
ซับซ้อนเพิ่มขึ้น  การฝึกหรือพัฒนาเด็กให้มีความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ได้อย่างมี
ประสิทธิภาพโดยกิจกรรมง่ายๆ เช่น  การร่วมกิจกรรมกีฬาสี  การเล่นเกม  การเล่นกลางแจ้ง
เป็นต้น  จะส่งผลต่อการพัฒนาด้านอื่นๆด้วย ไม่ว่าจะเป็นต้างอารมณ์  จิตใจ   สังคม
ตลอดจนสติปัญญา