เที่ยวชัยภูมิกับเพื่อนๆ

วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัย

สุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัย



โรคฟันผุในฟันน้ำนมของเด็กไทย มีความชุก (Prevalence)อยู่ในระดับค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆ และมีความรุนแรงเนื่องจากมีค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุดค่อนข้างสูง จากการสำรวจทันตสุขภาพทั้งระดับจังหวัดทุกปี ตั้งแต่ พ.ศ.2546 เป็นต้นมา และระดับชาติล่าสุด ครั้งที่ 6 พ.ศ.2550 พบกลุ่มเด็กอายุ 3 ปี และ 5-6 ปี มีค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุด (dmft) เป็น 3.6 และ 6 ตามลำดับ และส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการรักษาฟันผุ

 ปัจจัยและสาเหตุที่มีผลต่อการเกิดโรคฟันผุในเด็กปฐมวัย
   สาเหตุที่เด็กก่อนวัยเรียนมีสภาวะฟันน้ำนมผุสูงเกี่ยวข้องกับปัจจัยต่างๆ ได้แก่ พฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กที่ไม่ถูกต้อง เช่น การดูดนมขวดคาปาก การปล่อยให้เด็กหลับคาขวดนมเป็นประจำ การไม่ดูดน้ำตามหลังดูดนม การทำความสะอาดช่องปากไม่สม่ำเสมอ เด็กกลุ่มนี้มีอัตราการผุ ถอน อุด เป็นด้าน โดยเฉลี่ยสูงกว่าเด็กที่ถูกเลี้ยงดูในทางตรงข้าม เด็กที่ถูกเลี้ยงโดยพี่เลี้ยง ญาติหรือฝากคนอื่นเลี้ยงมีอัตราเฉลี่ย ผุ ถอน อุด สูงกว่าเด็กที่มารดาเลี้ยง การชอบรับประทานของหวาน การแปรงฟันน้อยกว่าวันละ 2 ครั้ง หรือไม่แปรงฟันเลย และการที่เด็กไม่เคยพบทันตแพทย์เลย มีผลต่อการเกิดฟันผุของเด็กวัยนี้เช่นกัน นอกจากนี้ชนิดของนมมีผลต่อการเกิดฟันผุของเด็กวัยนี้เช่นกัน โดยมีการศึกษาอัตราความชุกและความรุนแรงของโรคฟันผุว่าเด็กที่บริโภคนมรสหวานและไม่แปรงฟันก่อนนอนจะมีอัตราการเกิดฟันผุสูงกว่าเด็กที่บริโภคนมรสธรรมชาติ และแปรงฟันก่อนนอน ส่วนอาหารระหว่างมื้อที่เด็กรับประทานไม่มีความสัมพันธ์กับโรคฟันผุ
   ปัจจัยอื่นๆที่พบว่ามีความสัมพันธ์ของโรคฟันผุในเด็กก่อนวัยเรียน คือ อาชีพ การศึกษาของบิดามารดา รายได้ของครอบครัว ทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลทันตสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียนของผู้ปกครองพบว่าอยู่ในระดับต่ำ นอกจากนี้สาเหตุหลักที่ทำให้เด็กมีฟันน้ำนมผุเร็ว และผุมาก เนื่องจากการกินนมที่ไม่เหมาะสม การกินอาหารแป้งและน้ำตามบ่อยๆ การไม่ทำความสะอาดช่องปาก และการไม่ได้รับบริการด้านป้องกัน จากการวิเคราะห์ที่มาของสาเหตุพบว่า ปัจจัยด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม มีอิทธิพลอย่างมากต่อการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก และส่งผลต่อการเกิดฟันผุในเด็กเล็ก ภาวะทุพโภชนาการ (Malnutrition) มีผลต่อการเกิดฟันผุของเด็ก
   จากการสัมมนาระดมความคิดจากผู้ที่ทำงานด้านทันตกรรมป้องกันในเด็กวัยนี้ ผลการสัมมนาสรุปว่า สาเหตุที่ภาวะฟันผุในฟันน้ำนมของเด็กก่อนวัยเรียนยังคงมีปริมาณตลอดจนความรุนแรงของโรคสูงเนื่องจาก
1) ผู้เลี้ยงดูเด็ก ( เช่น พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย พี่เลี้ยง เป็นต้น)
1.1 ขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กในการเลี้ยงดูเด็ก
1.2 มีความรู้แต่ไม่สามารถปฏิบัติตามคำแนะนำของทันตแพทย์ ไม่พยายามสร้างนิสัยการบริโภคที่ถูกต้องให้กับเด็ก
1.3 มีความไม่พร้อมทางเศรษฐกิจ ไม่มีเวลาเอาใจใส่เด็กเท่าที่ควร
1.4 มีทัศนคติต่อโรคฟันผุในฟันน้ำนมยังไม่ถูกต้อง
2) ทันตบุคลากร
2.1 ทันตแพทย์ส่วนใหญ่เน้นไปที่การรักษา ไม่ได้ให้ความสนใจในด้านการป้องกัน
2.2 ทันตบุคลากรมีความรู้แต่ไม่สามารถถ่ายทอดความรู้ไปให้ประชาชนได้อย่างชัดเจน
2.3 การแก้ปัญหาของทันตบุคลากรยังไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวบ้าน
2.4 งานทันตกรรมป้องกันส่วนใหญ่ฝากไว้กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอื่นๆ เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ ทำให้งานด้านนี้ไม่ได้รับผลดีเท่าที่ควร
3) สิ่งแวดล้อม
3.1 สื่อโฆษณาด้านการบริโภคอาหารประเภทขนมและของกินเล่นประเภทแป้งและน้ำตาลมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการรับประทานของเด็ก
3.2 อาหารที่ทำให้เกิดฟันผุประเภทแป้ง น้ำตาล สะดวกในการหาซื้อมากกว่าอาหารประเภทผลไม้
4) รัฐบาล
4.1 รัฐไม่ได้สนับสนุนการป้องกันฟันผุอย่างแท้จริง
4.2 รัฐไม่มีนโยบายการควบคุมการโฆษณาพวกขนม ของกินเล่น ที่ไม่มีประโยชน์แล้วยังมีผลต่อโรคฟันผุโดยตรง 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น